|
|
 |
|
|
มาตรฐาน BRC (British Retail Consortium) |
ระบบคุณภาพสําหรับธุรกิจสินค้าอาหารค้าปลีก: สิ่งท้าทายสําหรับอุตสาหกรรมอาหารในยุคการค้าเสรี |
ปัจจุบันการค้าอาหารระหว่างประเทศมีบทบาทมากขึ้น ความปลอดภัยด้านอาหาร และการคุ้มครองสุข อนามัยของผู้บริโภคจึงเริ่มมีความสํ าคัญและเข้ามามีบทบาทในการค้าระหว่างประเทศ ทําให้ผู้ประกอบการที่เกี่ยว ข้องกับอาหารมีภาระต้องดูแลการผลิตของตนเองอยู่ตลอดเวลา ในช่วงระยะเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่ามีข้อ กําหนดทางการตลาด และมาตรฐานใหม่ ๆ จํานวนมากถูกเผยแพร่และนํามาใช้สู่ภาคอุตสาหกรรมอาหารของไทยผลักดันให้ผู้ส่งออกต้องปฏิบัติให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง |
ในปี พ.ศ.2541 กลุ่มผู้ค้าปลีกของอังกฤษ (British Retail Consortium) และกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร และเครื่องดื่ม (Food and Drink Federation) ซึ่งประกอบด้วยผู้ค้าปลีกหลัก ๆ เช่น เทสโก เจ เซนส์เบอรี แอสดาบูทส์ เซฟเวย์ สปาร์ ฯลฯ ได้รวมกลุ่มกันเพื่อพัฒนามาตรฐาน BRC สํ าหรับธุรกิจสินค้าอาหารค้าปลีกเพื่อให้ผู้ค้าปลีกสามารถปฏิบัติได้สอดคล้องตามข้อกำหนดทางกฎหมายและปกป้องคุ้มครองผู้บริโภคอันเป็นการสร้างความมั่นใจในความปลอดภัยของอาหารแก่ผู้บริโภค |
มาตรฐาน BRC เป็นมาตรฐานหนึ่งที่ได้ถูกออกแบบเฉพาะสําหรับผู้ค้าปลีก ใช้เป็นเครื่องมือบริหารจัดการในห่วงโซ่การส่งมอบอาหาร (Food Supply Chain) และเป็นมาตรฐานที่ได้รับการออกแบบเพื่อให้สามารถเข้ากันได้กับระบบมาตรฐานคุณภาพสากลอื่น ๆ ที่ได้มีการนํามาใช้อยู่แล้วโดยภาคอุตสาหกรรม เช่น หลักวิธีปฏิบัติที่ดีในการผลิต (Good Manufacturing Practice: GMP) ระบบวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม (Hazard Analysis and Critical Control Point : HACCP) มาตรฐานระบบ SQF 2000 (Safe Quality Food) และ ISO 9000 โดยข้อกํ าหนดมาตรฐาน BRC จะครอบคลุมประเด็นหลัก ๆ ดังนี้ |
1. ระบบวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุมในการผลิตอาหาร HACCP (Hazard Analysis Critical Control Point) ได้แก่ ดําเนินการวิเคราะห์อันตราย หาจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม กำหนดค่าวิกฤต กําหนดระบบเพื่อตรวจติดตามการควบคุมจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม กําหนดวิธีการแก้ไข เมื่อตรวจพบว่าจุดวิกฤตที่ต้องควบคุมเฉพาะจุดใดจุดหนึ่งไม่อยู่ภายใต้การควบคุมกําหนด วิธีการตรวจสอบเพื่อยืนยันประสิทธิภาพการดําเนินงานของระบบ HACCP กําหนดวิธีการจัดเก็บเอกสารและบันทึกข้อมูล |
2. ระบบบริหารคุณภาพ (Quality Management System) ได้แก่ นโยบายและคู่มือคุณภาพ โครงสร้างองค์กร ความรับผิดชอบ ผู้มีอํานาจจัดการ การควบคุมเอกสาร ระเบียบวิธีการปฏิบัติงาน การจัดเก็บบันทึกข้อกําหนดผลิตภัณฑ์ การตรวจติดตามภายใน การปฏิบัติการแก้ไข และการประเมินผู้ส่งมอบ |
3. มาตรฐานสภาพแวดล้อมโรงงาน (Factory Environment Standards) ได้แก่ ทําเลที่ตั้ง แผนผังและแผนภูมิการผลิต โครงสร้างอาคารโรงงาน เครื่องมือ เครื่องใช้ การบํารุงรักษา สิ่งอํานวยความสะดวกสําหรับพนักงาน ความสะอาดสุขลักษณะ และการขนส่ง |
4. การควบคุมผลิตภัณฑ์ (Product Control) ได้แก่ การวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ การคัดแยก การหมุนเวียนสินค้า การตรวจจับโลหะและสิ่งแปลกปลอม และการควบคุมผลิตภัณฑ์ |
5. การควบคุมกระบวนการผลิต (Process Control) ได้แก่ การควบคุมอุณหภูมิ เวลา ปริมาณ เครื่องมือเครื่องใช้ และการตรวจสอบกระบวนการผลิต การสอบเทียบ และการจัดการกับข้อกําหนด พิเศษ |
6. บุคลากร (Personal) ได้แก่ สุขลักษณะส่วนบุคคล การเคลื่อนย้ายวัตถุดิบ การแปรรูป การบรรจุ การจัดเก็บ การดูแลการเจ็บป่วย อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล และผู้ประกอบอาหาร การปฏิบัติตนเมื่อเข้าสู่พื้นที่ประกอบอาหาร ทั้งนี้รวมถึงผู้เยี่ยมชมโรงงาน และการฝึกอบรม |
สําหรับผู้ที่คุ้นเคยในการจัดทําระบบคุณภาพ (Quality Management System) มาแล้วจะพบว่าข้อกํ าหนด BRC นั้นไม่ค่อยยุ่งยากจากข้อกําหนดเดิมในระบบอื่น ๆ |
มาตรฐาน BRC ในส่วนของผู้ส่งมอบนั้นจะเป็นระบบในเชิงบริหารจัดการไม่ใช่ระบบการตรวจสอบ(Quality Management System-not the inspection system) โดยเริ่มจากการให้คํามั่นสัญญาของฝ่ายบริหารและทําความเข้าใจที่ถูกต้องในมาตรฐานแล้วจึงเริ่มนําระบบมาใช้เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพการปฏิบัติงานจริงสําหรับการตรวจสอบรับรองมาตรฐาน องค์กรผู้ที่จะสามารถตรวจรับรองได้นั้นต้องมีคุณสมบัติสอดคล้องตามมาตรฐาน EN 45004 จึงจะสามารถให้การตรวจรับรองมาตรฐาน BRC ได้ |
|
|